คลังความรู้
การรวบรวมองค์ความรู้ที่มี ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อทุกคนในองค์กรได้ไปประยุกต์ใช้
ชุมชนนักปฏิบัติ
กลุ่มคนที่จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหา หรือความสนใจในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง และเรียนรู้วิธีการเพื่อให้ปฏิบัติได้ดีกว่าเดิม
2CQI
Continouns Quality Improvement เครื่องมือสำหรับช่วยการวิเคราะห์ตัดสินใจในกระบวนการทำงานที่สามรถคาดการณ์ล่วงหน้า
23วิจัย R2R
ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำ นั้น ๆ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน เพื่อพัฒนางานขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
27นวัตกรรม
สิ่งที่เกิดจากการใช้ความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆอย่างบูรณาการ เพื่อประดิษฐ์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์
6เอกสารคู่มือต่างๆ
เอกสารที่ใช้อธิบายถึงแนวทาง ขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติงาน
10ถอดบทเรียนผู้เกษียณ
หนังสือที่รวบรวมประวัติและแนวทางการปฎิบัติงานที่ดี จากการถอดบทเรียนผู้เกษียณอายุราชการ โดยคณะกรรมการ KM
5บุคคลดีเด่น /ผลงานเด่น
ผลงานเด่น/นวัตกรรม/บุคคลดีเด่น
2
- CQIผู้แต่ง ยุวดี บุญผล พจนา พัฒสุข ปฐมาวดี ทองแก้ว การประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการให้โภชนบ าบัดแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชแต่ยังไม่มีเครื่องมือที่มีคุณภาพส าหรับการประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการส าหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทดสอบคุณภาพของแบบประเมินและประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้โภชนบ าบัดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วิธีวิจัย การศึกษาแบบเชิงพรรณนาโดยรวบรวมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการจากวรรณกรรมและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง น ามาสร้างเป็นแบบประเมินความรู้จ านวน 20ข้อ ตรวจสอบค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับและรายข้อโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจ านวน 5คนและน าแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหาตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธี KR-20ค่าความยากง่ายและค่าอ านาจจ าแนกในผู้ป่ วยและผู้ดูแลที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้โภชนบ าบัดผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรัง จ านวน 17คน จากนั้นน าแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาประเมินความรู้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล จ านวน 15คน ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินที่สร้างขึ้นมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ (0.95-0.97) ค่าความยากง่าย(0.22 -0.80)และค่าความอ านาจจ าแนก(0.20 -0.80) ผ่านตามเกณฑ์ที่ก าหนดซึ่งถือว่ายอมรับได้ ส าหรับค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหารายข้อ(0.6 –1.0) มีค าถามจ านวน 4ข้อ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดและได้น ามาปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในเกณฑ์ก่อนน ามาตรวจสอบความเชื่อมั่นซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.85ถือว่ามีความเชื่อมั่นในระดับสูงเมื่อน าไปทดลองใช้พบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการส าหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรมเท่ากับ14.80 ±2.76และ17.73±1.28คะแนน ตามล าดับ สรุปได้ว่าแบบประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการส าหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่สร้างขึ้นนี้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ก าหนดและสามารถน าไปประยุกต์ใช้ได้จริง อ่านเพิ่มเติม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAT/article/view/192890/162008Like
- CQIผู้แต่ง : ธารทิพย์ วิเศษธาร กัญจนา ปุกคํา สมจิตร์ ยอดระบํา การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจและศึกษาผลการนํารูปแบบไปใช้ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยประยุกต์การพัฒนาแนวปฏิบัติบนหลักฐานเชิงประจักษ์ ตามแนวทางของ The Conduct and Utilization of Research in Nursing (CURN)Framework กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ 1) พยาบาลวิชาชีพ 18 คน 2) ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม 70 คน 3) ญาติผู้ดูแล 72 คนเครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย 2) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาล 4) แบบประเมินการปฏิบัติของพยาบาลตามกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ5) แบบประเมินความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลและ 6) คู่มือการปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจชื่อว่า “ABC2D2E2F bundle” ซึ่งพัฒนาตามหลักฐานเชิงประจักษ์ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่พัฒนาขึ้นเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาล โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ การใช้คู่มือการปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และการนํา ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ผลลัพธ์แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ พบว่า หลังการอบรมพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจมากกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสํา คัญทางสถิติที่ระดับ.05 และมีความคิดเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รวมทั้งมีการปฏิบัติตามรูปแบบมากกว่าร้อยละ 80 2) ด้านคลินิก พบว่าความสํา เร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจมีอัตราร้อยละ 92.86 โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในกลุ่ม simple weaning มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.86 โดยมีระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 4 วัน และ 3) ด้านองค์กรพบว่า จํา นวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตเฉลี่ย 9.61 วัน และญาติมีความพึงพอใจต่อการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตในระดับมากที่สุดร้อยละ 43.05 ข้อเสนอแนะจากการพัฒนารูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่ประยุกต์ใช้ “ABC2D2E2F bundle”สามารถเพิ่มผลลัพธ์ทั้งด้านกระบวนการดูแล ด้านคลินิก และด้านองค์กรโดยพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตมีบทบาทสํา คัญในการประสานความร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพและญาติผู้ดูแล ควรใช้รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหน่วยงานวิกฤตอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย คําสําคัญ: รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม, การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์,ABC2D2E2F bundle อ่านฉบับเต็ม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/240348/163840Like
- บุคคลดีเด่น /ผลงานเด่นผลงานวิชาการดีเด่น นางฉัตรกมล ชูดวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก พญ.วิภาวดี ณ พัทลุง นายแพทย์เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช Cost-Effectiveness of Single-Dose Methotrexate Treatment of EctopicPregnancy:A Four-Year experience in Maharaj Nakorn Si-Thammarat Hospital นพ.วัชรพงศ์ แย้มศรี นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช SPINE INDEX-SEUR ASSESMENT การประเมินสภาพกระดูกสันหลังด้วยตนเอง นส.ระพีพรรณ พวงแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ความหวังครั้งสุดท้าย พญ.ปรานปวีณ์ โรจน์เจริญงาม นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช กระดูกหักที่คนไข้แต่ใส่เหล็กดามจิตใจหมอ นส.วิชรา เสวกพรหม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ปาฏิหาริย์....กำลังใจ พญ.ดลพร เขียวบรรจง นายแพทย์ชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ผลการดำเนินงานการดูแลผู้ป่วยประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช นายธันยมัย สุขแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช การคัดกรองโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโดยการใช้ สไปโรเมตรีย์ นางบุญนำ พัฒนแก้ว พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช นายนิมิตร หลงเก็ม พยาบาลเทคนิคชำนาญงาน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช อุปกรณ์ยืดตรึงเผือกเพื่อแก้ปัญหาการผิดรูปLike