ผู้แต่ง ยุวดี บุญผล พจนา พัฒสุข ปฐมาวดี ทองแก้ว
การประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการให้โภชนบ าบัดแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เข้ารับการรักษา ณ คลินิกโรคไตเรื้อรัง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชแต่ยังไม่มีเครื่องมือที่มีคุณภาพส าหรับการประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการส าหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทดสอบคุณภาพของแบบประเมินและประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้โภชนบ าบัดผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง วิธีวิจัย การศึกษาแบบเชิงพรรณนาโดยรวบรวมความรู้ด้านอาหารและโภชนาการจากวรรณกรรมและเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง น ามาสร้างเป็นแบบประเมินความรู้จ านวน 20ข้อ ตรวจสอบค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับและรายข้อโดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและโภชนาการผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจ านวน 5คนและน าแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหาตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธี KR-20ค่าความยากง่ายและค่าอ านาจจ าแนกในผู้ป่ วยและผู้ดูแลที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้โภชนบ าบัดผู้ป่ วยโรคไตเรื้อรัง จ านวน 17คน จากนั้นน าแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาประเมินความรู้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแล จ านวน 15คน ผลการศึกษาพบว่า แบบประเมินที่สร้างขึ้นมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาทั้งฉบับ (0.95-0.97) ค่าความยากง่าย(0.22 -0.80)และค่าความอ านาจจ าแนก(0.20 -0.80) ผ่านตามเกณฑ์ที่ก าหนดซึ่งถือว่ายอมรับได้ ส าหรับค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหารายข้อ(0.6 –1.0) มีค าถามจ านวน 4ข้อ ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ก าหนดและได้น ามาปรับปรุงแก้ไขให้อยู่ในเกณฑ์ก่อนน ามาตรวจสอบความเชื่อมั่นซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.85ถือว่ามีความเชื่อมั่นในระดับสูงเมื่อน าไปทดลองใช้พบว่าผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและผู้ดูแลมีความรู้ด้านอาหารและโภชนาการส าหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการอบรมเท่ากับ14.80 ±2.76และ17.73±1.28คะแนน ตามล าดับ สรุปได้ว่าแบบประเมินความรู้ด้านอาหารและโภชนาการส าหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่สร้างขึ้นนี้มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่ก าหนดและสามารถน าไปประยุกต์ใช้ได้จริง
อ่านเพิ่มเติม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JNAT/article/view/192890/162008