เจ้าของผลงาน
หออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติทารกแรกเกิด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการดูแลรักษาทารกแรกเกิดมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยๆและทารกกลุ่มอื่นๆที่มีภาวะวิกฤติเช่น มีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้น ทารกที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติทารกแรกเกิด ( Neonatal intensive care unit ; NICU) เป็นทารกที่อยู่ในภาวะวิกฤตและมีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องได้รับยาและสารอาหารทางหลอดเลือดดำเป็นเวลานาน ซึ่งมีความสำคัญต่อโอกาสรอดชีวิตและการฟื้นตัวจากภาวะเจ็บป่วยวิกฤติ แต่การให้อาหารเข้าสู่ทางเดินอาหารในระยะแรกยังจำกัดไว้ที่ปริมาณน้อยๆที่เรียกว่า minimal enteral nutrition และค่อยๆเพิ่มปริมาณทีละน้อยเนื่องจากทางเดินอาหารยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นในการให้สารอาหารหลอดเลือดดำ ซึ่งหลอดเลือดดำมีความทนต่อความเข้มข้นของสารอาหารชนิดต่างๆได้ ไม่เปราะบางต่อการรั่วซึมของสารอาหารที่ให้ เป็นเหตุให้ต้องเปลี่ยนตำแหน่งบ่อยๆ ส่งผลให้ทารกเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และติดเชื้อได้ง่าย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหลอดเลือดดำใหญ่ที่สะดือเป็นทางเลือกในการใส่สายสวนสะดือ (umbilical vein: UVC) ตั้งแต่วันแรกเพื่อให้ยาหรือสารอาหาร แต่ระยะเวลาคาสายสวนสะดือ ไม่ควรเกิน 10-14 วัน เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอักเสบลุกลามเข้าสู่ช่องท้องได้ การทำหัตถการใส่PICC Line จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากระยะเวลาในการคาสายไว้ได้นานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน ลดการแทงเข็มหาเส้นเลือด ลดความเจ็บปวด ลดการรบกวนทารก เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ เพื่อตอบสนองนโยบายความเป็นเลิศด้านการดูแลทารกแรกเกิด