ผู้แต่ง : ธารทิพย์ วิเศษธาร กัญจนา ปุกคํา สมจิตร์ ยอดระบํา
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจและศึกษาผลการนํารูปแบบไปใช้ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โดยประยุกต์การพัฒนาแนวปฏิบัติบนหลักฐานเชิงประจักษ์ ตามแนวทางของ The Conduct and Utilization of Research in Nursing (CURN)Framework กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ 1) พยาบาลวิชาชีพ 18 คน 2) ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม 70 คน 3) ญาติผู้ดูแล 72 คนเครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและการเจ็บป่วย 2) แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการหย่าเครื่องช่วยหายใจ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของพยาบาล 4) แบบประเมินการปฏิบัติของพยาบาลตามกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ5) แบบประเมินความพึงพอใจของญาติผู้ดูแลและ 6) คู่มือการปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจชื่อว่า “ABC2D2E2F bundle” ซึ่งพัฒนาตามหลักฐานเชิงประจักษ์ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่พัฒนาขึ้นเน้นการเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาล โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการหย่าเครื่องช่วยหายใจ การใช้คู่มือการปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และการนํา ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ผลลัพธ์แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ พบว่า หลังการอบรมพยาบาลมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางการหย่าเครื่องช่วยหายใจมากกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสํา คัญทางสถิติที่ระดับ.05 และมีความคิดเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รวมทั้งมีการปฏิบัติตามรูปแบบมากกว่าร้อยละ 80 2) ด้านคลินิก พบว่าความสํา เร็จในการหย่าเครื่องช่วยหายใจมีอัตราร้อยละ 92.86 โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในกลุ่ม simple weaning มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.86 โดยมีระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 4 วัน และ 3) ด้านองค์กรพบว่า จํา นวนวันนอนในหอผู้ป่วยวิกฤตเฉลี่ย 9.61 วัน และญาติมีความพึงพอใจต่อการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตในระดับมากที่สุดร้อยละ 43.05 ข้อเสนอแนะจากการพัฒนารูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจที่ประยุกต์ใช้ “ABC2D2E2F bundle”สามารถเพิ่มผลลัพธ์ทั้งด้านกระบวนการดูแล ด้านคลินิก และด้านองค์กรโดยพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตมีบทบาทสํา คัญในการประสานความร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพและญาติผู้ดูแล ควรใช้รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหน่วยงานวิกฤตอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
คําสําคัญ: รูปแบบการหย่าเครื่องช่วยหายใจ, ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม, การปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์,ABC2D2E2F bundle
อ่านฉบับเต็ม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/journalthaicvtnurse/article/view/240348/163840