เจ้าของผลงาน
ตะวัน ชัยภูวนารถ พบ.,วว.รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา
กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคมะเร็งศีรษะและลำคอ มีอุบัติการณ์ต่อปีทั่วโลก มากกว่า 550,000 ราย โดยประมาณ 90% เป็นชนิด สะความัส (Squamous cell carcinoma) ผู้ป่วยส่วนมากมักมาพบแพทย์เมื่อโรคอยู่ในระยะลุกลามแล้วจากข้อมูลรายงานสถิติประจำปี 2014 ของหน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่า ปี 2014 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ ทั้งหมด 6,093 คน เป็นผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ 439 ราย หรือประมาณ 7% และประมาณ 60% ได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะที่ 3-4
วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลัน ในการใช้ยาเคมีบำบัด ซิสพลาติน(Cisplatin) แบบฉีดเข้าเส้นเลือดดำทุก 3 สัปดาห์ (80-100 mg/m2 เข้าเส้นเลือด) เปรียบเทียบกับการให้ยาทุกสัปดาห์ (ขนาด 30-40 mg/m2 เข้าเส้นเลือด) ร่วมกับการฉายรังสี ในผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและลำคอระยะลุกลามเฉพาะที่
วัสดุและวิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดสความัส (Squamous cell carcinoma) จำนวน 40 คน ที่มารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ขอนแก่น ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2560 - ธันวาคม พ.ศ.2560 ถูกรับเข้างานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม คนไข้ได้รับการฉายรังสีร่วมกับเคมีบำบัด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ด้วยวิธีสุ่มด้วยจดหมายปิดผนึก คือ กลุ่ม A ฉายรังสีร่วมกับ เคมีบำบัด Cisplatin ขนาด 80-100 mg/m2ทุก 3 สัปดาห์ และ กลุ่ม B ฉายรังสีร่วมกับ เคมีบำบัด Cisplatin ขนาด 30-40 mg/m2ทุกสัปดาห์ แล้วประเมินความเป็นพิษเฉียบพลัน ที่สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์สุดท้ายของการรักษาด้วย NCI CTCAE 4.03