เจ้าของผลงาน
ฉัตรกมล ชูดวง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
อัจจิมาวดี พงศ์ดารา กุมารแพทย์โรคระบบการหายใจ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
ที่มา:High flow nasal cannula (HFNC) เป็นวิธีการรักษา ผู้ป่วยด้วยออกซิเจน ซี่งเป็นส่วนผสมระหว่างอากาศกับ ออกซิเจน 100% ที่มีอัตราการไหลมากกว่า Inspiratory flow ของผู้ป่วยผ่านทางท่อจมูก (nasal cannula)ที่ผ่านมามีการนำไปใช้ในผู้ป่วยทารกแรกเกิด ที่มีภาวะหายใจลำบาก (Respiratory distress)พบว่ามีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการใช้ noninvasive CPAPส่วนในผู้ป่วยทารกและเด็กโตการศึกษาส่วนใหญ่มักใช้ในผู้ป่วย acute bronchiolitis มากกว่าโรคที่มีภาวะหายใจลำบากอื่นๆ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหายใจลำบาก
วัสดุแลวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) ในผู้ป่วยเด็กอายุ 1เดือนถึง 15ปี ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก (PICU) โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหายใจลำบากจากเกณฑ์การวินิจฉัยของ WHO และได้รับการรักษาโดยใช้ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ตั้งแต่ 1ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560โดยอุปกรณ์ High Flow Nasal Cannula (HFNC) ที่ใช้ เป็นแบบประกอบเองที่ไม่มี oxygen blender และเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการรักษาด้วย High Flow Nasal Cannula (HFNC) จำนวน 13 ราย เป็นเพศชาย 9ราย (ร้อยละ 69) เพศหญิง 4ราย (ร้อยละ 31) ผู้ป่วยอายุน้อยที่สุดที่ได้รับการรักษาคือ 1เดือน และมากที่สุดคือ 18เดือน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 1ปี (ร้อยละ 61) โรคที่เป็นสาเหตุของภาวะหายใจลำบากที่ทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาด้วย High Flow Nasal Cannula (HFNC) ส่วนใหญ่เป็นโรคปอดอักเสบ (ร้อยละ 61)ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการตั้งอัตราการไหลรวมของก๊าซ (total flow rate) ตามน้ำหนัก และความเข้มข้นของออกซิเจน (FiO2) เริ่มต้นส่วนใหญ่เริ่มที่ 0.6 (ร้อยละ 61)ผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มมีอาการดีขึ้นมีอัตราการหายใจลดลงที่ 2ชั่วโมงหลังเริ่มรักษา (ร้อยละ 92) ไม่มีผู้ป่วยรายใดที่ล้มเหลวจากการรักษาจนต้องเปลี่ยนแปลงการรักษามาใส่ท่อช่วยหายใจทางปากระยะเวลาในการรักษาส่วนใหญ่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 3วัน (ร้อยละ 54)ระยะเวลานอนรวมในหอผู้ป่วยวิกฤติเด็ก (PICU) เฉลี่ย 4.5วันและไม่มีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา