เจ้าของผลงาน
อัจฉรา ฉายวิริยะ พ.บ.,ว.ว. จักษุวิทยา
ภาควิชาจักษุวิทยา รพ.มหาราช นครศรีธรรมราช
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลการรักษาเปลือกตาล่างม้วนเข้าใน (involutionalentropion) โดยวิธี transcutaneous everting suture
รูปแบบการศึกษา : การวิจัยแบบย้อนหลัง
วิธีการศึกษา : ศึกษาในผู้ป่วยจำนวน 30 คน ทั้งหมด 30 ตา เป็นเพศชาย 10คน(คิดเป็นร้อยละ 33.3) เพศหญิง 20 คน(คิดเป็นร้อยละ 66.7) อายุระหว่าง 50-90 ปี อายุเฉลี่ย 66.5 ปี ผู้ป่วยจะติดตามการรักษาก่อนผ่าตัด, หลังผ่าตัดที่ 1 สัปดาห์, 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี และ 1 ปีครึ่งโดยประเมินตำแหน่งของเปลือกตาล่างในท่าปกติ เพื่อดูความสำเร็จของการผ่าตัดและภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด
ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยกินยาต้านการแข็งตัวของเลือดจำนวน 5 ราย (คิดเป็นร้อยละ 16.7) และยาต้านเกร็ดเลือดจำนวน 5 ราย (คิดเป็นร้อยละ 16.7) มีการเป็นซ้ำ 3/30 (คิดเป็นร้อยละ 10) โดยการเป็นซ้ำเฉลี่ยที่ 10 เดือน ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด
สรุป : การรักษาเปลือกตาล่างม้วนเข้าใน (involutionalentropion)โดยวิธี transcutaneous everting sutureเป็นวิธีที่ง่าย เร็ว ได้ผลดี ไม่พบภาวะแทรกซ้อนแม้ผู้ป่วยกินยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยาต้านเกร็ดเลือด