เจ้าของผลงาน
ลมัย แสงเพ็ง รพ.มหาราชนครศรีธรรมราช
ยุวดี วิทยพันธ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการให้ทารกดูดนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพระหว่างมารดาหัวนมสั้นกับหัวนมปกติ
รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา
วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ คู่มารดาทารกสุขภาพดีทารกเกิดครบกำหนด น้ำหนักแรกเกิดตั้งแต่ 2500 กรัม– 3999กรัมที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหลังคลอดโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราชจำนวน 120 คู่เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือคู่มารดาและทารกที่มารดาหัวนมสั้นหรือความยาวหัวนม0.1-0.7เซนติเมตรจำนวน60 คู่ และคู่มารดาและทารกที่มารดามีหัวนมปกติหรือความยาวหัวนม>0.7 เซนติเมตรจำนวน60 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารก และแบบบันทึกการประเมินเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และแบบบันทึกการประเมินเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการทดสอบความเที่ยงของการสังเกต (inter-rater-reliaability)ที่0.95วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบchi square และT-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) มารดาหัวนมสั้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จต่ำกว่ามารดาหัวนมปกติ ร้อยละ 68 และ ร้อยละ 78.3 ตามลำดับ ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .052)การให้ทารกดูดนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพแรกรับ มารดาหัวนมสั้นสามารถให้ทารกดูดนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่ำกว่ามารดาหัวนมปกติ ร้อยละ 38.3 และร้อยละ 70ตามลำดับ เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05ก่อนจำหน่ายมารดาหัวนมสั้นให้ทารกดูดนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ ต่ำกว่ามารดาหัวนมปกติ ร้อยละ 75 และ ร้อยละ 80.33 ตามลำดับ เมื่อทดสอบทางสถิติพบว่าไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05