เจ้าของผลงาน
1. นาง นงเยาว์ บรรณโศภิษฐ์
2. นาง สมร หนูประสิทธ์
3. นางสาว วัลลภา กาญจนานนท์
4. นางสาว อุบลวรรณ แสงมณี
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
การดูแลรักษาผู้ป่วยทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติทารกแรกเกิด
( NICU ) โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช พบภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญได้แก่ ภาวะ
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ( VAP ) จอประสาทตาเสื่อม ( ROP ) และ
โรคปอดเรื้อรัง( BPD ) จากข้อมูลปี 2551 และปี 2552 พบอัตราการเกิด VAP ร้อยละ12.36และ
14.12 ครั้ง ต่อ1,000 ventilator day อัตราการเกิด ROP ร้อยละ 8.7 และ 4.6 และอัตราการเกิด BPD ร้อยละ 8.1 และ 13.3 ตามลำดับ
โดยส่วนใหญ่พบในทารกที่ใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการดูแลรักษาทารกเกิดก่อนกำหนด มี
การพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำ Non - invasive ventilator มาใช้กับ
ทารกกลุ่มนี้มากขึ้นเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวที่เป็นปัญหาสำคัญในหออภิบาลผู้ป่วยหนักวิกฤติทารก ดังนั้นเพื่อเน้นการพัฒนาคุณภาพการดูแลทารกแรกเกิดโดยเฉพาะทารกเกิดก่อนกำหนด จึงได้นำ Non - invasive ventilator มาใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2552 และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน